เมนู

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีความงามในท่ามกลาง. และเมื่อสาธุชนปฏิบัติแล้ว
โดยประการนั้น ก็ย่อมนำมาแต่ความงามเช่นเดียวกัน แม้ด้วยผลแห่งการ
ปฏิบัติ เพราะจะนำความเป็นผู้คงที่มาให้ ในเมื่อได้สำเร็จผลแห่งการปฏิบัติ
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความงามในที่สุด.
อนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยความบริสุทธิ์แห่งแดนเกิด เพราะ
ศาสนธรรมมีที่พึ่งเป็นแดนเกิด มีความงามในท่ามกลางด้วยความบริสุทธิ์แห่ง
อรรถ มีความงามในสุดด้วยความบริสุทธิ์แห่งกิจ. เพราะฉะนั้น สมเด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงธรรมจะน้อยหรือมากก็ตาม
พึงทราบว่า ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง 3 ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็น
อาทิ.

[อรรถาธิบายศัพท์ว่า สาตฺถํ สพฺยญชนํ]


ก็ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้ : -
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงพระธรรมนี้
ชื่อว่าทรงประกาศ คือทรงแสดงศาสนาพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์ด้วย
นัยต่าง ๆ. ก็ศาสนาพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าพรั่งพร้อม
ด้วยอรรถ เพราะถึงพร้อมด้วยอรรถ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะ
ถึงพร้อมด้วยอรรถบทที่แสดง ประกาศ เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้นและบัญญัติ,
ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะถึงพร้อมด้วยอักษร บท พยัญชนะ
อาการ นุรุตติ และนิเทศ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะความที่ศาสน-
พรหมจรรย์เป็นต้นนั้น ลึกโดยอรรถ และลึกโดยปฏิเวธ, ชื่อว่า พรั่งพร้อม

ด้วยพยัญชนะ เพราะความที่ศาสนาพรหมจรรย์นั้น ลึกโดยธรรม และลึกโดย
เทศนา, ชื่อว่า พรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะความเป็นวิสัย (คืออารมณ์)
แห่งอัตถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ
เพราะความเป็นวิสัย (คืออารมณ์) แห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา.*
พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะเหตุว่า เป็นที่
เลื่อมใสแห่งชนผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงรู้. ชื่อว่าพรั่ง
พร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะเหตุว่า เป็นที่เลื่อมใสแห่งโลกียชน เพราะเป็น
สิ่งควรเชื่อ., ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรค เพราะมีความอธิบายลึก, ชื่อว่า
พรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะมีบทตื้น, ชื่อว่าบริสุทธิ์สิ้นเชิง เพราะมีความ
บริบูรณ์เต็มที่ เหตุไม่มีสิ่งที่จะต้องเพิ่มเข้า ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเป็นของหา
โทษมิได้ เหตุไม่มีสิ่งที่จะต้องนำออก, ชื่อว่าพรหมจรรย์ เพราะอันบุคคลผู้
เป็นใหญ่ คือผู้ประเสริฐพึงปฏิบัติ เหตุที่พรหมจรรย์นั้นอันท่านกำหนดด้วย
ไตรสิกขา และเพราะเป็นจริยาของท่านเหล่านั้น, ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมมีเหตุ
และเรื่องที่เกิดขึ้น ชื่อว่าทรงแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในเบื้องต้น
และชื่อว่าทรงแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในท่ามกลาง เพาะเนื้อความ
ไม่วิปริต และเพราะประกอบด้วยเหตุและอุทาหรณ์ โดยสมควรแก่เวไนยสัตว์
และชื่อว่าแสดง (ธรรมนั้น) มีความงามในที่สุด เพราะทำให้พวกนักฟัง
ได้ศรัทธาและความมั่นใจ ก็เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าทรง
ประกาศพรหมจรรย์.

ก็พรหมจรรย์ ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะทราบชัดในธรรม
ควรบรรลุได้ ก็ด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะเชี่ยวชาญ
ในพระคัมภีร์ ก็ด้วยปริยัติ ชื่อว่าบริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะประกอบด้วยธรรม-
ขันธ์ 5 มีสีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่มีเครื่องเศร้าหมอง เพราะ
เป็นไปเพื่อประโยชน์จะสละทุกข์ในวัฏฏะ และเพราะไม่มีความมุ่งหมายโลกามิส
เรียกว่าพรหมจรรย์ เพราะเป็นอริยาของท่านผู้ใหญ่ โดยอรรถว่าเป็นผู้ประเสริฐ
คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก แม้เพราะฉะนั้น
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงกล่าวได้ว่า ทรงแสดงธรรมมีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ,
ข้อว่า สาธุ โข ปน ความว่า อนึ่ง (การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้เห็นปานนั้น) เป็นความดีแล. มีคำอธิบายว่า นำประโยชน์มาให้ นำความสุข
มาให้.
ข้อว่า ตถารูปานํ อรหตํ ความว่า (การเห็น) พระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้ซึ่งได้ความชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ในโลก เพราะได้บรรลุคุณตามเป็นจริง
เห็นปานพระโคดมผู้เจริญนั้น (เป็นความดี)
ข้อว่า ทสฺสนํ โหติ ความว่า เวรัญชพราหมณ์ ทำอัธยาศัยไว้
อย่างนี้ว่า แม้เพียงสักว่าการลืมตาทั้งสอง อันใสแจ๋วด้วยประสาทแล้วมองดู
ย่อมเป็นความดี ดังนี้ (จึงเข้าไปเฝ้าในภายหลัง).

[อรรถาธิบายวิเสสนสัพพนามว่า เยน เตน]


คำว่า เยน ในข้อว่า อถโข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ
นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น